แนวข้อสอบ
Trending

ความสัมพันธ์ (Relationships) ของระบบฐานข้อมูล

ความสัมพันธ์ (Relationships) ของระบบฐานข้อมูล

ความสัมพันธ์ (Relationships) ของระบบฐานข้อมูล

ความสัมพันธ์ (Relationships) ของระบบฐานข้อมูล หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษา และเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จึงอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ผู้เช่า 1 คน สามารถเช่าหนังสือได้เพียง 1 เล่ม หรือ1 ชุดเท่านั้น ในขณะเดียวกัน หนังสือ 1 เล่ม หรือ 1 ชุด ก็จะมีผู้เช่าเพียงคนเดียว เพราะมีเพียงเล่มเดียวหรือชุดเดียวเท่านั้น

ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)

นักศึกษาหนึ่งคนจะมีสูติบัตรเพียงใบเดียวเท่านั้น
สูติบัตรหนึ่งใบก็เป็นของนักศึกษาได้เพียงคนเดียวเท่านั้นเช่นกัน

ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูล ในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ผู้เช่า 1 คนสามารถเช่าหนังสือได้เพียง 1 เล่มหรือ 1 ชุด แต่หนังสือรหัสเดียวกันสามารถมีผู้เช่ามากกว่า 1 คน เพราะมีหนังสือให้เช่ามากกว่า 1 เล่ม หรือมากกว่า 1 ชุด

ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships)

ลูกค้าหนึ่งคนมีใบเสร็จได้หลายใบ เนื่องจากลูกค้าหนึ่งคนอาจมาซื้อสินค้าหลายครั้ง
ใบเสร็จหนึ่งใบต้องเป็นของลูกค้าเพียงคนเดียวเท่านั้น

ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม ตัวอย่างเช่น หนังสือ 1 เรื่องจะมีผู้ยืมหนังสือได้มากกว่า 1 คน ในขณะเดียวกัน ผู้ยืมหนังสือ 1 คน ก็สามารถยืมหนังสือได้มากกว่า 1 เรื่อง

ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)

นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ วิชาพร้อมกันในแต่ละครั้ง และในทางตรงกันข้าม ในแต่ละวิชา 1 วิชา จะประกอบด้วยนิสิตหลายคนมาลงทะเบียนในวิชานั้น

ขอบคุณข้อมูล :: www.satrinon.ac.th, https://cst.tsu.ac.th/

ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา http://krucomonlines.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอขอบคุณครับ

ครูคอมออนไลน์

บทความโดย : ครูคอมออนไลน์ ติดตามได้ที่ : https://www.facebook.com/krucomputers เว็บไซต์ : http://krucomonlines.com/
Back to top button